หลักเกณฑ์การจัดจำเเนกสิ่งมีชีวิต
1. ลักษณะโครงสร้างทั้งภายนอกนอกภายในของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง
โครงสร้างที่มีต้นกำเนิด เดียวกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน (Homologous structure) เช่น แขนคน ขาสุนัข ปีกนก ครีบปลาวาฬ ครีบปลาต่างๆ จะเห็นว่าครีบปลาวาฬคล้ายแขนคนมากกว่าครีบปลา และโครงสร้างต่างกัน แต่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน (Analogous structure) เช่นปีกนกกับปีกผีเสื้อ เป็นต้น
โครงสร้างมีต้นกำเนิดเดียวกันทำงานแตกต่างกัน
โครงสร้างมีต้นกำเนิดต่างกันทำงานเหมือนหัน
2. แบบแผนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเอมบริโอมีการเจริญคล้ายกันเพียงใด เช่น การเจริญของเอมบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังจะต้องมีช่องเหงือก (gill slits) ที่บริเวณคอหอย แต่เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะปิดไปยกเว้นปลา จึงแตกต่างกันในระยะโตเต็มที่แบบแผนการเจริญเติบโตของสิ่งมี
3.การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
การสืบพันธุ์ การดำรงชีพ และพฤติกรรมต่าง ๆ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สัตว์ที่มีสปีชีร์เดียวกันสามาถที่จะถ่ายทอดจากพ่อเเม่ไปสู่รุ่นลูกได้ นั่นคือgene บางชนิดจากพ่อเเละเเม่ถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก เเละเเดสงออกในรุ่นลูก ทำให้ลูกนั้นมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนพ่อกับเเม่ความสัมพันธ์ทางเครือญาติและส่วนประกอบทางเคมีของ DNA ของลิงกับมนุษย์
4. ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
สิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันย่อมมีความสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงกัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เราอาจจะศึกษาได้จากซากดึกดำบรรพ์หรือหลักฐานต่างๆ ที่พบ
5. สารที่เซลล์สร้างขึ้นความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
เราสามารถจำเเนกสิ่งมีชีวิตได้ตามสารชีวโมเลกุลที่พบในสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ลึกลงไปในระดับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
การเเบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นอาณาจักร
อ้างอิงเนื้อหาจาก : http://www.sci.nu.ac.th/Biology/Biodiversity
: http://www.bionrru.org
: http://www.bionrru.org
น่าสนใจมากค่ะ
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจ รูปก็สวยมากค่ะ
ตอบลบ