ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คือ การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก ความหลากหลายทางชีวภาพเกิดจากการสะสมความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ในระยะเวลานานและเป็นผลจากการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยการเกิดความหลากหลายทางชีวภาพเริ่มจากการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม เป็นผลให้เกิดความหลากหลายทางสปีชีส์ บนความแตกต่างหลากหลายของระบบนิเวศ ดังนั้นหากจะกล่าวถึงความหลากหลายทางชีวภาพนักเรียนต้องเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายทางสปีชีส์ และความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ 3 ระดับ คือ
1.ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic diversity)
หมายถึง ความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อแม่ ่และ ส่งต่อไปยังรุ่นต่อไปเช่น ลักษณะความหลากหลายของลวดลายและสีของหอยทาก Cepaea nemoralls ลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอด นั้นผ่านทางยีน (gene) ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งส่งผลให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันไปตาม ยีน (gene) ที่ได้รับการถ่ายทอดมา ตัวอย่างของความหลากหลาย ทางพันธุกรรมมีอยู่ทุกครอบครัวของสิ่งมีชีวิต พี่น้องอาจมีสีผม สีผิวและ สีของนัยน์ตาที่แตกต่างกัน เป็นต้น
ความเเปรผันเเละการเเสดงออกทางพันธุกรรมของสัตว์ที่มีสปีชีร์เดียวกัน
ที่มาภาพ : https://www.google.co.th/search
2. ความหลากหลายทางสปีชีส์หรือชนิดพันธุ์ (Species diversity) หรือความหลากหลายทางชนิดการเปลี่ยนแปลงมีจุดเริ่มมาจาก ความหลากหลายทางพันธุกรรม แต่เกิดขึ้นสะสมความแตกต่าง เป็นระยะเวลาที่ยาวนานหลายชั่วรุ่น และผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรืออาจเกิดจากการคัดเลือกพันธุ์โดยมนุษย์ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ เช่น กล้วยไม้บางชนิดมีลักษณะคล้ายกัน แต่ผสมพันธุ์กันไม่ได้ เนื่องจากเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนละชนิด
3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecological diversity) ความแตกต่างของลักษณะของสิ่งมีชีวิตเป็นผลจาก กลไกทางพันธุกรรม ซึ่งการแปรผันที่เกิดขึ้น ลักษณะใดที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม จะทำให้ลักษณะดังกล่าวถูกคัดเลือกให้สืบพันธุ์และดำรงอยู่ต่อไป ดังนั้นสภาพแวดล้อมย่อมมีผลต่อทิศทางและ การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของ ความหลากหลาย ของสิ่งมีชีวิต บนโลก สิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเป็นผลมาจากความหลากหลายของระบบนิเวศ ในโลกมีระบบนิเวศมากมายหลายชนิด กระจัดกระจายตามภูมิศาสตร์ต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทจะมีชนิดของสิ่งมีชีวิตที่พบไม่เหมือนกันทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยทางกายภาพ ที่สิ่งมีชีวิตต้องการไม่เหมือนกัน จากข้อมูลดังกล่าวความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายของสปีชีส์และความหลากหลายของระบบนิเวศ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพก่อให้เกิดความสมดุลของโลก
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตที่พบในปัจจุบันเป็นผลมาจากการเกิดวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตในช่งระยะเวลากว่า 3,500 ล้านปี โดย ในแต่ละยุคจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นใหม่ หรือสูญพันธุ์ไปบ้าง บางส่วนก็ทิ้งร่องรอยแสดงให้เห็นถึงความรุ่งโรจน์ของสปีชีส ์นั้น แต่ส่วนใหญ่มักสูญหายไปโดยไม่ปรากฏร่องรอยเหลือไว้เลย อย่างไรก็ตามนักธรณีวิทยา (Geologist) และนักบรรพชีวิน (Palaeontologist) ได้พยายามสร้างตารางเวลาเพื่อบันทึกลำดับเหตุการณ์ กำเนิดของสิ่งมีชีวิต ต่างๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยใช้หลักฐานซากดึกดำบรรพ์ (fossil) ที่สามารถคำนวณอายุได้ ดังแสดงในตารางธรณีกาล (Geologic time scale)
สายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สามารถนำมาเป็นข้อมูลในการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพได้ อีกทั้งยังสามารถนำมาจัดจำเเนกสิ่งมีชีวิต ตามหลักของอนุกรมวิธานได้ด้วย ถ้าหากพูดถึงเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพเเล้วอีกหัวข้อหนึ่งที่มีความเชื่อมโยงกัน นั่นคืออนุกรมวิธาน ทั้งสองเรื่องนี้เป็นสิ่งที่มาควบคู่กัน ถ้าพูดถึงเรื่องความหลากหลายก็ต้องมีเรื่องของอนุกรมวิธานเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ กล่าวง่ายๆ คือเมื่อมีความหลากหลายก็ต้องมีการจัดจำเเนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ (Taxonmy) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไป
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต (classification)
2.การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต (nomenclature)
3.การระบุชื่อวิทยาศษสตร์ของสิ่งมีชีวิต (identification)
การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต (classification)
1.การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต (classification)
2.การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต (nomenclature)
3.การระบุชื่อวิทยาศษสตร์ของสิ่งมีชีวิต (identification)
การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต (classification)
นักอนุกรมวิธานมีการจัดลำดับขั้นของกลุ่มสิ่งมีชีวิตตามความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ เเละความเหมือนในด้านต่างๆ ทั้งด้านรูปร่าง สัณฐานวิทยา เเละหลักฐานระดับโมเลกุล หรือสารที่เซลล์สร้างขึ้น การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตเราจะเรียงลำดับจากความหลากหลายมากที่สุด(หรือใหญ่ที่สุด)ไปถึงสปีชีร์(species) ได้ดังนี้
1. Kingdom
2. Phylum
3. Class
4. Order
5. Family
6. Genus
7. Species
ในบางครั้งนักอนุกรมวิธานก็อาจจะจัดจำเเนกชั้นเเยกย่อยลงไปอีก โดยอาจจะเติม sub หรือ super เข้าไปนำหน้าลำดับขั้น เช่น subclass , subphylum เป็นต้น
การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต(Nomenclature)
ชื่อของสิ่งมีชีวิตจะมี 3 ระบบหลัก ได้เเก่
ชื่อพื้นเมือง(vernacular name) ใช้เรียกกันทั่วไปตามพื้นที่เเต่ละพื้นที่
ชื่อสามัญ (common name) ชื่อภาษาอังกฤษของสิ่งมีชีวิต
ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) ชื่อสากลที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิต ชื่อนี้เป็นชื่อที่สามารถเข้าใจได้ตรงกันได้ทั่วโลก
หลักในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ สรุปหลักๆ ได้ดังนี้
- ชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเป็นภาษาละติน ถ้าเป็นภาษาอื่นให้ทำเป็นภาษาละตินก่อน
- ตั้งตามหลัก binomial nomenclature ชอง Linnaeus โดยที่ชื่อเเรกเป็น Genus เเละส่วนหลังเป็นชื่อ specific epithet
- ชื่อของGenus ตัวเเรกเป็นตัวใหญ่ นอกนั้นเป็นตัวเล็กหมด
- ถ้าตัวเขียนจะใช้การขีดเส้นใต้ชื่อวิทยาศาสตร์ทั้งสองส่วน โดยที่ไม่ติดกัน ในกรณีที่พิมพ์ให้ใช้ตัวเองเเทน
- ชื่อที่ถูกต้องต้องมีชนิดหนึ่ง มีได้เเค่ชื่อเดียว ใช้ชื่อเเรกที่ตั้งเป็นหลัก
- ผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเป็นผู้พบคนแรก และตีพิมพ์รายงานไว้ในหนังสือวิชาการที่เชื่อถือได้
การระบุชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต(Identification)
นักวิทยาศาสตร์มีหลายแนวทางในการจัดจำแนกหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต โดยใช้ dichotomous key เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มย่อยได้ โดยจะพิจารณาโครงสร้างทีละลักษณะที่แตกต่างกันเป็นคู่ๆ จะเป็นเเบบทางเลือกสองทางให้เลือก ตัวอย่างของ dichotomous key
1 ก. เมล็ดกลม ------------------------------------------ ดูข้อ 2
ข. เมล็ดแบน ------------------------------------------ ดูข้อ 8
2 ก. ขนาดใหญ่ ----------------------------------------- ดูข้อ 4
ข. ขนาดเล็ก ------------------------------------------- ดูข้อ 3
3 ก. เมล็ดสีดำ ------------------------------------------- มะละกอ
ข. เมล็ดสีเหลืองอ่อน--------------------------------- ส้ม
4 ก. เปลือกมีสีเข้ม -------------------------------------- ดูข้อ 6
ข. เปลือกมีสีอ่อน ------------------------------------- ดูข้อ 5
5 ก. เปลือกสีเหลืองอ่อน------------------------------- ขนุน
ข. เปลือกสีขาว ---------------------------------------- เงาะ
6 ก. เปลือกสีดำ ------------------------------------------ ดูข้อ 7
ข. เปลือกสีเขียว --------------------------------------- เมล็ดบัว
7 ก. เมล็ดกลม ------------------------------------------- ลำไย
ข. เมล็ดกลมรี ------------------------------------------ น้อยหน่า
8 ก. เมล็ดขนาดใหญ่ ------------------------------------ ดูข้อ 9
ข. เมล็ดขนาดเล็ก -------------------------------------- มะเขือ
9 ก. เมล็ดสีดำ --------------------------------------------- แตงโม
ข. เมล็ดสีน้ำตาล --------------------------------------- ฟักทอง
ข. เมล็ดแบน ------------------------------------------ ดูข้อ 8
2 ก. ขนาดใหญ่ ----------------------------------------- ดูข้อ 4
ข. ขนาดเล็ก ------------------------------------------- ดูข้อ 3
3 ก. เมล็ดสีดำ ------------------------------------------- มะละกอ
ข. เมล็ดสีเหลืองอ่อน--------------------------------- ส้ม
4 ก. เปลือกมีสีเข้ม -------------------------------------- ดูข้อ 6
ข. เปลือกมีสีอ่อน ------------------------------------- ดูข้อ 5
5 ก. เปลือกสีเหลืองอ่อน------------------------------- ขนุน
ข. เปลือกสีขาว ---------------------------------------- เงาะ
6 ก. เปลือกสีดำ ------------------------------------------ ดูข้อ 7
ข. เปลือกสีเขียว --------------------------------------- เมล็ดบัว
7 ก. เมล็ดกลม ------------------------------------------- ลำไย
ข. เมล็ดกลมรี ------------------------------------------ น้อยหน่า
8 ก. เมล็ดขนาดใหญ่ ------------------------------------ ดูข้อ 9
ข. เมล็ดขนาดเล็ก -------------------------------------- มะเขือ
9 ก. เมล็ดสีดำ --------------------------------------------- แตงโม
ข. เมล็ดสีน้ำตาล --------------------------------------- ฟักทอง
ตัวอย่างการระบุชื่อของสิ่งมีชีวิต
จะเห็นได้ว่า การจัดลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตทำให้ง่ายต่อการศึกษา ถ้าเราเห็นปลาอยู่ในน้ำหลายตัวอยู่ด้วยกัน เเต่ละตัวจะมีลักษณะเเตกต่างกัน เราจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นปลาชนิดอะไรบ้าง ในกรณีนี้เราสามารถนำมาจัดจำเเนกชนิดตามหลักอนุกรมวิธานได้ หรือถ้าต้องการรู้ว่ามันอยู่ไฟลัมหรืออยู่ในคลาสใด เราก็สามารถที่จะใช้ dichotomous key นี่เป็นการจัดจำเเนกเบื้องต้น เพราะเราจัดจำเเนกตามลักษณะที่พบเห็นทั่วไปก่อน ยังไม่ได้ลงลึกถึงการจัจำเเนกตามความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการ หรือเจาะจงในระดับโมเลกุล ซึ่งเป็นศาสตร์ชั้นสูงที่เราต้องศึกษาต่อไป
อ้างอิงเนื้อหาจาก : http://www.tei.or.th/file/events
: http://www.scimath.org/lesson-biology/item/7055-2017-05-23-14-39-52
: http://www.scimath.org/lesson-biology/item/7055-2017-05-23-14-39-52
เยี่ยมมากครับ เนื้อหาดี อ่านสบายตา มีสาระน่ารู้ มุ้งมิ้งฟรุ้งฟริ้งกระดิ่งแมว��กรี๊ดๆ
ตอบลบขอบคุณมากๆ ค่า 5555
ลบอ่านง่ายมาสาระมากเลนคร่าา
ตอบลบว้าวววว เนื้อหาน่าสนใจมากค่า สีสันดีมากเวอร์ น่าอ่านมากๆ
ตอบลบรูปภาพสวยงามค่ะ เนื้อหาก็ชัดเจนดีค่ะ
ตอบลบเนื้อหาดี มีสาระมากๆค่ะ
ตอบลบ